เปรียบเทียบแอปพลิเคชัน Read & Write กับ คำไทยที่มักเขียนผิด

หลังจากแอปช่วงสัปดาห์ก่อนมีข่าวในแวดวงไอทีเรื่องการเปิดตัวแอปพลิเคชัน 2 ตัวจากทางราชบัณฑิตยสถาน คือ Read and Write (อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร) และ Royal Society (Thai Dictionary แอบงงว่าชื่อแอปฯ เป็น Roral Society แต่โลโก้เป็น Thai Dictionary) เลยอยากจะหยิบยกขึ้นมารีวิวให้เห็นภาพกันสักหน่อยว่า โดยในบทความนี้จะเริ่มที่แอปพลิเคชัน Read and Write ก่อนครับ

ปัญหาของคนไทยในยุคนี้คือการสื่อสารผ่านการพิมพ์เป็นตัวหนังสือลงบนระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์งานเอกสาร พิมพ์ตอบโต้ผ่าน social network เช่น Facebook, Twitter หรือกระทู้บน Pantip และเว็บบอร์ดต่าง ๆ ที่มีมากมายปานดอกเห็ดหน้าฝน แถมทีภาษาไทยยังเป็นภาษาที่ยากในการจดจำรูปการเขียนเพราะด้วยโครงสร้างของคำเองได้หยิบยืมมาจากหลายภาษาและยังมาแปลงเปลี่ยนรูปให้เขียนเป็นอีกแบบในบริบทของภาษาไทนเอง เช่นที่เห็นได้บ่อย ๆ คือหยิบยืมคำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤตมา ตัวอย่างง่าย ๆ คือ ชื่อ-นามสกุลเรานี่แหละ ถ้าคำไทยแท้ก็จะเป็น ดำ แดง เป็นต้น แต่ถ้าเป็นชื่อว่า เกียรติ ให้เข้าใจไว้ได้เลยว่ามาจากคำบาลีที่เขียนว่า กิตฺติ และคำสันสกฤตที่เขียนว่า กีรฺติ เอามาบิดให้กลายเป็นคำไทยว่า เกียรติ ที่ใช้กันอยู่ตอนนี้ เห็นไหมหล่ะแค่นี้ก็ทำให้เริ่มมึนศีรษะ (เดาหลายคนกำลังคิดว่าศีรษะเขียนแบบนี้จริงเหรอ?)ได้แล้ว เอาหล่ะในเมื่อมันมีความยุบยับซับซ้อนหลายอย่างจึงได้มีการรวบรวมคำไทยที่เขียนยากและคนไทยเรามักเขียนผิดกันอยู่บ่อยครั้ง รวมถึงการอ่านออกเสียงของแต่ละคำอยู่มากมายที่เผยแพร่อยู่ในอินเตอร์เน็ต แต่เดี๋ยววันนี้ผมจะขอรีวิวตัวที่เป็นแอปพลิเคชันที่มาจาก 2 ฟากคือหน่วยานที่ดูแลเรื่องคำไทยโดยตรงกับทีมพัฒนาแอปพลิเคชันรายย่อย นั่นคือ
Read and Write (ราชบัณฑิตยสถาน) VS คำไทยที่มีกเขียนผิด (kint studio) เชิญทัศนาได้เลยครับ


ยกที่ 1 : ไอคอน
Read and Write : ไอคอนสอดคล้องกับชื่อแอปพลิเคชัน แต่ตัวชื่อแอปพลิเคชันเองดันไม่สื่อความหมายว่าตกลงแอปฯ นี้ทำอะไร
คำไทยที่มีกเขียนผิด : ไอคอนไม่บอกอะไรเลยนอกจากธงชาติไทย แต่ชื่อแอปพลิเคชันยังช่วยให้พอจะเดาออกว่าข้างในจะช่วยผู้ใช้เรื่องอะไร

Read and Write
Read and Write
คำไทยที่มักเขียนผิด
คำไทยที่มักเขียนผิด

 


ยกที่ 2 : Landing page
Read and Write : เมื่อเข้าแอปพลิเคชันแล้วจะพาไปที่หน้าค้นหาคำอ่านทันที เพราะเป็นแบบ tab template ซึ่งก็ง่ายดีที่จะเปลี่ยนไปที่ฟังก์ชันอื่น ๆ โดยการกดปุ่มฟังก์ชันที่ด้านล่างได้ทันที
คำไทยที่มีกเขียนผิด : เมื่อเข้าแอปพลิเคชันจะเจอหน้า Landing page ที่มี short cut ของแต่ละฟังก์ชันให้เห็น ถ้าจะใช้งานฟังก์ชันไหนต้องกดที่ปุ่มเมนูนั้น ๆ ก่อน

Landing page
Landing page
Landing page
Landing page

ยกที่ 3 : ฟังก์ชันค้นหา
Read and Write : การค้นหาคำจะแยกออกจากกันระหว่างคำที่อ่าน และคำที่เขียน(คำที่มักเขียนผิด) หลังพิมพ์คำค้นแล้วระบบจะเริ่มค้นหาให้อัตโนมัติ โดยจะค้นหาตามหมวดตัวอักษรเท่านั้น เช่น หาด้วย ดุ จะเจอแต่คำที่ขึ้นต้นด้วย ดุ เช่น ดุล, ดุลอำนาจ ดุษณี เป็นต้น
คำไทยที่มีกเขียนผิด : ระบบจะมีแค่ฐานข้อมูลของคำที่มักเขียนผิด แต่ไม่มีเรื่องของคำอ่านของแต่ละคำ โดยพิมพ์คำค้นแล้วระบบจะเริ่มค้นหาให้อัตโนมัติเช่นกัน แต่จะเป็นการวิ่งค้นหาทุกส่วนที่มีคำค้นหานั้นผสมอยู่ เช่น หาด้วย ดุ จะเจอ ดุลย์, ผดุง, พัสดุ เป็นต้น

ค้นหา
ค้นหา
ค้นหา
ค้นหา

ยกที่ 4 : ฟังก์ชันรายละเอียดของคำ
Read and Write : การเข้ามาความหมายของคำ สามารถเข้าได้จาก 2 ช่องทาง คือ จากผลการค้นหาและจากประวัติการค้นหา พอเข้ามาข้างในก็จะเจอหน้าที่เป็นรายการองก์ประกอบของคำนั้น คือ หัวข้อคำ หมวดหมู่ คำอ่าน คำที่เขียนผิด และคำอธิบายเพิ่มเติม แล้วแต่ว่าเป็นคำในหมวดหมู่ไหน
คำไทยที่มีกเขียนผิด : ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหน้าความหมายของคำได้จากการค้นหาเป็นหลัก พร้อมทั้งสามารถเก็บเป็นคำที่ชื่นชอบไว้เข้าดูในภายหลัง หรือจะเลื่อนดูคำลำดับถัดไป/ก่อนหน้า/สุ่มคำได้อีกด้วย โดยหน้าข้างในจะมีองค์ประกอบของคำที่เขียนถูกและเขียนผิดและหมายเหตุเพิ่มเติม(ถ้ามี) ทั้งนี้สามารถเก็บเป็นคำที่ชื่นชอบ หรือหากพบว่าผิดพลาดก็สามารถแจ้งแก้ไข อยาดจะคัดลอกไปวางที่อื่นก็กดปุ่มคัดลอกได้ทันที หรือจะแชร์ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านบน social network ก็ทำได้เช่นกัน

รายละเอียดของคำ
รายละเอียดของคำ
รายละเอียดของคำ
รายละเอียดของคำ

ยกที่ 5 : ประสิทธิภาพการทำงานของแอปพลิเคชัน
Read and Write : เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกเขียนขึ้นมาด้วยหลักการของ hybridge app ถ้าเดาไม่ผิดน่าจะเป็น cordova/phonegap คือการเขียนเว็บให้ทำงานบนมือถือที่ใกล้เคียงกับแอปที่เขียนด้วยภาษาของ platform นั้น ๆ แต่เขียนเพียงครั้งเดียวก็สามารถนำไป deploy เป็นหลายๆ platform ได้โดยง่าย ซึ่งมันก็ต้องแลกมาด้วยข้อจำกัดหลายอย่างและความเร็วในการตอบสนองการสั่งงานของผู้ใช้ แค่ลองเล่นก็จะรู้เลยว่า feeling ของการใช้งานมันไม่ได้เหมือนกับการใช้งาน natvie app
คำไทยที่มีกเขียนผิด : แอป ฯ เขียนขึ้นด้วย native ของแต่ละ platform ซึ่งแน่นอนว่าประสิทธิภาพการทำงานทั้งความเร็วในการโหลดข้อมูลและการตอบสนองการสั่งงานของผู้ใช้ย่อมดีกว่า และการเคลื่อนไหวตอนเปลี่ยนหน้าก็จะดูลื่นไหลเป็นปกติของแต่ละ platform

 


ยกเสริม : เรื่องทั่วไป

    Read and Write :

  • – มีการค้นหาคำอ่านของแต่ละคำได้
  • – มีประวัติการค้นหา
  • – มีข้อมูลอื่นอยู่ที่เป็นหลักการหลายอย่าง เช่น หลักการอ่านตัวเลข ให้ศึกษาเพิ่มเติม
  • – รองรับมือถือทุก platform
  •  

    คำไทยที่มีกเขียนผิด :

  • – มีคำแนะนำให้เห็นตั้งแต่ตอนแรกที่เข้าแอปฯ
  • – สามารถแนะนำคำใหม่เข้าสู่ระบบได้
  • – สามารถแจ้งแก้ไขเมื่อพบว่าคำนั้นมีข้อผิดพลาด
  • – สามารถแชร์ให้เพื่อนทาง social network ได้
  • – สามารถคัดลอกคำไปใช้งานต่อได้ทันที
  • – สามารถเก็บเป็นคำที่ชื่นชอบไว้ดูในภายหลังได้
  • – เป็น native app ของทุก platform
  • – รองรับ Windows Phone และ Windows 10

 


สรุป…ใช้แอปฯ ไหนดี?
ผมมีคำตอบในใจอยู่แล้ว แต่คำตอบที่ดัที่สุดคงจะตอบว่าให้ลองทั้ง 2 แอปพลิเคชันครับแต่ละแอปก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน เอาเป็นว่าเลือกใช้ตามความถนัดและสะดวกได้เลยครับ 🙂

Link download :
Read and Write : iOS, Android
คำไทยที่มีกเขียนผิด : iOS, Android, Windows 10